ลิงค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

พยากรณ์อากาศ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์


นับสถิติเว็บไซต์ MovieVdoZa

เริ่มนับ 5 มีนาคม 2556

วันนี้
8
เมื่อวาน
58
เดือนนี้
923
เดือนก่อน
923
ปีนี้
2,723
ปีก่อน
8,941
ออนไลน์
1 User online
เรียกดูหน้าเว็บ
24787 ครั้ง

ประมวลจรรยาบรรณ

ประมวลจรรยาบรรณ  (Code of Ethics) 
ตามมาตรฐานสากลงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน  
(โดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย)

 

บทนำ
จุดประสงค์ ของประมวลจรรยาบรรณ คือเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของจรรยาบรรณในวิชาชีพการตรวจสอบภายใน  

 

การตรวจสอบภายใน (Internal Auditing) คือ การให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษา
อย่างเที่ยงธรรมและเป็น อิสระ เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรการตรวจสอบภายใน
ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง
การควบคุม และการกำกับดูแล อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ

 

ประมวลจรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเหมาะสม ต่อวิชาชีพการตรวจสอบภายใน ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้
ปฏิบัติหน้าที่ให้ความเชื่อมั่นอย่างเที่ยงธรรม ในการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแล
ประมวลจรรยาบรรณ ครอบคลุมคำจำกัดความของการตรวจสอบภายใน โดยผนวกสาระสำคัญอีกสองประการคือ
 
1.
หลักการ (Principles) ที่เกี่ยวกับวิชาชีพและการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน
2.
หลักปฏิบัติ (Rules of Conduct) คือสิ่งที่ผู้ตรวจสอบภายในพึงประพฤติปฏิบัติ  หลักปฏิบัติเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยใน
  การตีความและประยุกต์หลักการไปใช้จริง และพึงใช้เป็นแนวทางในการประพฤติตนอย่างมีจรรยาบรรณของ
  ผู้ตรวจสอบภายใน
  ประมวลจรรยาบรรณ (Code of Ethics) และ กรอบการปฏิบัติงานวิชาชีพ (Professional Practices
Framework) ตลอดจนแถลงการณ์ต่างๆ ของ The Institute of Internal Auditors (IIA) และ
สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (ส.ต.ท.) มีขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ตรวจสอบภายใน
คำ “ผู้ตรวจสอบภายใน” หมายถึง สมาชิกของ IIA และ ส.ต.ท. ผู้ที่ได้รับหรืออยู่ระหว่างขอรับประกาศนียบัตร
วิชาชีพจาก IIA และ ส.ต.ท. และผู้ที่ให้บริการตรวจสอบภายในตามคำจำกัดความของ
การตรวจสอบภายใน
   

การนำไปปฏิบัติและบังคับใช้

 

ประมวลจรรยาบรรณ สามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งในระดับบุคคลและหน่วยงาน ที่ให้บริการตรวจสอบภายใน 

  สมาชิกของ IIA และ ส.ต.ท. และผู้ที่ได้รับหรืออยู่ระหว่างขอรับประกาศนียบัตรวิชาชีพของ IIA และ ส.ต.ท.
ที่ฝ่าฝืน ประมวลจรรยาบรรณ จะต้องถูกตรวจสอบและดำเนินการ ตามกฎระเบียบและแนวปฏิบัติการบริหารของ IIA
และ ส.ต.ท.  (By laws and Administrative Guidelines)   การกระทำใด ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในหลักปฏิบัติ
(Rules of Conduct) ไม่ได้หมายความว่าเป็นที่ยอมรับ หรือทำให้สมาชิกและผู้ที่ได้รับหรืออยู่ระหว่าง
ขอรับประกาศนียบัตรพ้นจากความรับผิดทางวินัยได้
   

หลักการ (Principles)

 

ผู้ตรวจสอบภายในพึงยึดถือและดำรงไว้ซึ่งหลักการต่อไปนี้ :

  ความซื่อสัตย์ (Integrity) ความซื่อสัตย์ของผู้ตรวจสอบภายในสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและทำให้วิจารณญาณ
ของผู้ตรวจสอบภายในเป็นที่น่าเชื่อถือ
  ความเที่ยงธรรม (Objectivity) ผู้ตรวจสอบภายในจะแสดงความเที่ยงธรรมเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ในการรวบรวม ประเมิน และสื่อสาร ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมหรือกระบวนการที่ตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบภายในจะประเมิน
สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง อย่างเป็นกลาง ไม่ลำเอียง และไม่ปล่อยให้อคติหรือบุคคลอื่นมีอิทธิพลเหนือการประเมิน
  การรักษาความลับ (Confidentiality) ผู้ตรวจสอบภายในจะเคารพคุณค่าและสิทธิของ
ผู้เป็นเจ้าของในข้อมูลที่ตน ได้รับ และไม่เปิดเผยข้อมูลโดยปราศจากอำนาจหน้าที่ที่เหมาะสม 
เว้นแต่เมื่อกฎหมายหรือวิชาชีพกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
  ความสามารถในหน้าที่ (Competency) ผู้ตรวจสอบภายในจะใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็น

ในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน

   

หลักปฏิบัติ (Rules of Conduct)

1.
ความซื่อสัตย์ (Integrity) ผู้ตรวจสอบภายในจะต้อง :
1.1

ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร และมีสำนึกรับผิดชอบ

1.2

ปฏิบัติตามกฎหมาย และเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายและวิชาชีพกำหนด

1.3
ไม่มีส่วนร่วมโดยเจตนาในกิจกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย หรือการกระทำที่อาจเสื่อมเสียต่อวิชาชีพ
 

การตรวจสอบภายในหรือองค์กร

1.4
เคารพและสนับสนุนวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรม ขององค์กร
 
2.

ความเที่ยงธรรม (Objectivity) ผู้ตรวจสอบภายในจะต้อง :

2.1
ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ที่บั่นทอนหรืออาจบั่นทอนการประเมินอย่างเป็นกลาง
  ไม่ลำเอียง ของตน ทั้งนี้ รวมไปถึงการกระทำหรือความสัมพันธ์ที่ขัดต่อผลประโยชน์ขององค์กรด้วย
2.2
ไม่รับสิ่งตอบแทนใดๆ ที่บั่นทอนหรืออาจบั่นทอนวิจารณญาณของผู้ประกอบวิชาชีพ
2.3

เปิดเผยความจริงทั้งหมดที่ทราบซึ่งหากละเว้นไม่เปิดเผยแล้วอาจทำให้รายงานผลการตรวจสอบบิดเบือนไป

 
3.
การรักษาความลับ  (Confidentiality)  ผู้ตรวจสอบภายในจะต้อง :
3.1
รอบคอบในการใช้ และปกป้องข้อมูลที่ได้มาระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
3.2
ไม่ใช้ข้อมูลที่ได้มาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อการใด ที่ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อ
  วัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรม ขององค์กร
 
4.
ความสามารถในหน้าที่ (Competency) ผู้ตรวจสอบภายในจะต้อง :
4.1
ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในงานส่วนที่ตนมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ที่จำเป็นสำหรับงาน
  ส่วนนั้น เท่านั้น
4.2
ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในโดยยึด มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน
  (International Standards for the Professional Practice of Internal Auditing) เป็นหลัก
4.3
พัฒนาความชำนาญ ประสิทธิผล และคุณภาพของบริการ อย่างต่อเนื่อง